โรงเรียนบ้านห้วยโศก

นางสาวศิรยาศ์ อสิอุโค
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนบ้านห้วยโศก

Previous
Next

ประวัติ โรงเรียนบ้านห้วยโศก

ชื่อสถานศึกษา  โรงเรียนบ้านห้วยโศก  กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนช้างคู่  ตั้งอยู่ เลขที่ 96/3 หมู่ที่ 8  ตำบลช้างขวา   อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี   รหัสไปรษณีย์ 84160     โทรศัพท์ /โทรสาร  0-7793-3346   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1  เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย  ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  มีเขตพื้นที่บริการ  3 หมู่บ้าน  ได้แก่ หมู่ที่ 8,10 และ 12   ตำบลช้างขวา  อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประวัติโดยย่อ

ความลำบากในการเดินทางไปเรียนหนังสือของบุตรหลาน ที่โรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง  ทำให้นายกระจ่าง  พัฒน์จันทร์  กำนันตำบลช้างขวา   นายคล้อย  สอนขำ  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5  และประชาชนหมู่บ้านห้วยโศก  ได้ร่วมกันลงแรงสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง ขนาด 8×15 เมตร พร้อมโต๊ะ ม้านั่ง กระดานดำ และขอเสนอเปิดเรียนในเดือนธันวาคม 2503  แต่กรมสามัญไม่อนุญาต  จึงเสนอขอเปิดทุกปี  จนกระทั่งได้รับอนุญาตให้เปิดโรงเรียนบ้านห้วยโศก อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่  15  กรกฎาคม  2509   โดย นายสร้อง รักษ์จินดา  ศึกษาธิการอำเภอกาญจนดิษฐ์   และแต่งตั้งนายแคล้ม รักษ์จันทร์  รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่  และได้เปิดเรียนเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2509   มีนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1–ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  รวม  46  คน ซึ่งส่วนใหญ่ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง  การพัฒนาของโรงเรียนเป็นไปโดยลำดับ  ดังนี้

พัฒนาการ

ปี พ.ศ. 2512   ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ ป 1 ข   จำนวน  1  หลังขนาด  2 ห้องเรียน  ผู้ปกครองนักเรียนบริจาคเพิ่มเติม 1 ห้องเรียน  รวมเป็น 3 ห้องเรียน (ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงาน)

ปี พ.ศ. 2515   ได้งบประมาณก่อสร้าง บ้านพักครูแบบกรมสามัญ 1 หลัง (ปัจจุบันมีครูพักอาศัย)

ปี พ.ศ. 2515   ผู้ปกครองได้บริจาคทรัพย์และแรงงานสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเพิ่มอีก 1 หลังขนาด  3  ห้องเรียน (ปัจจุบันใช้เป็นโรงอาหาร)

ปี พ.ศ. 2520  ได้งบประมาณก่อสร้าง บ้านพักครูแบบกรมสามัญ 1 หลัง (ปัจจุบันมีครูพักอาศัย)

ปี พ.ศ. 2521  ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ข. ใต้ถุนสูง  ขนาด  6  ห้องเรียน  จำนวน  1 หลัง (ปัจจบันเป็นห้องเรียน  ปฐมวัยและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3)

ปี พ.ศ. 2521   ได้งบประมาณสร้างส้วม แบบกรมสามัญ ขนาด 5 ที่นั่ง  จำนวน 1 หลัง (รื้อถอนแล้ว  ผู้ปกครองและชุมชนได้ร่วมกันสร้างใหม่ทดแทน แบบทั่วไป เมื่อปี 2553)

ปี พ.ศ. 2530  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช.102/26 จำนวน 1 หลัง (ปัจจุบันเป็นห้องประชุม)  และบ่อเลี้ยงปลาแบบ สปช. จำนวน  1 บ่อ

ปี พ.ศ. 2535 กรมประมงได้ขุดบ่อเลี้ยงปลา ตามโครงการประมงหมู่บ้าน  ขนาด  2 ไร่ จำนวน 1บ่อ

ปี พ.ศ. 2535 ได้งบประมาณสร้างส้วม แบบสปช.601/26 ขนาด 2 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง

ปี พ.ศ. 2537  เปิดขยายโอกาสทางการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   ผู้ปกครองได้สร้างอาคาร  เรียนชั่วคราว  ขนาด 4 ห้องเรียน  จำนวน 1 หลัง (ปัจจุบันเป็นห้องเก็บของ)

ปี พ.ศ. 2539  ผู้ปกครองได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาด  1 ห้องเรียน  จำนวน 1 หลัง (ปัจจุบันเป็นจริยธรรมและประชาธิปไตย)

ปี พ.ศ. 2540 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.104/29  จำนวน 1 หลัง (ปัจจุบันเป็นห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4-6  ห้องเรียนภาษาอังกฤษ และต่อเติมชั้นล่างเป็นห้องเรียน 1 ห้อง และสมุดขนาด 108 ตารางเมตร  1 ห้อง)

ปี พ.ศ. 2541 ได้งบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.601/26 ขนาด 2ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง

ปี พ.ศ. 2543 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29  จำนวน 1 หลัง (ปัจจุบันเป็นอาคารเรียนระดับมัธยมศึกษา  และต่อเติมชั้นล่างเป็นห้องวิทยาศาสตร์และห้องพัสดุ)

ปี พ.ศ. 2553 ได้งบประมาณสร้างอาคาร สพฐ.4  (ห้องส้วม 4 ที่นั่ง)  จำนวน 1 หลัง

ผู้บริหาร

1. นายแคล้ม รักษ์จันทร์  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เมื่อ 15 กรกฎาคม 2509 –1 ตุลาคม 2527

2. นายอำนาจ  อำรุง  ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2528 -7 ธันวาคม 2536

3. นายธวัชชัย  ด้วงทองแก้ว  ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการโรงเรียน  เมื่อ  7  ธันวาคม  2536 – 5 กุมภาพันธ์  2544

4. นายมานิต  จิตสงค์  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2544 – 20  มิถุนายน  2551

5. นายสุรเชษฐ์  ปานแดง  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  เมื่อ 20 มิถุนายน 2551 – กุมภาพันธ์ 2557

6. นายสมชาย  คงเทพ  รักษาราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน  เมื่อ 27 มกราคม 2557 – 3  ธันวาคม  2557

7. นายโกวิทย์  หีตนาคราม   ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยโศก   วุฒิการศึกษาสูงสุด    ป.บัณฑิต   สาขา บริหารการศึกษา

ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ วันที่  4  ธันวาคม  2557 –  ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

โรงเรียนจัดการศึกษา ได้คุณภาพมาตรฐานการศึกษา  บริหารยึดหลักธรรมมาภิบาล น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ก้าวไกลเทคโนโลยีสู้ประชาคมอาเซียน

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2. จัดการบริหารการศึกษาให้ทันสมัย  ยึดหลักธรรมมาภิบาล
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  นวัตกรรมทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้สู่อาเซียน
5. ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

เป้าหมาย

โรงเรียนกำหนดเกณฑ์ที่คาดหวังและวางแผนดำเนินการ  งาน/โครงการ/กิจกรรม  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ให้บรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เอกลักษณ์-อัตลักษณ์

อัตลักษณ์

“ไหว้สวย รวยน้ำใจ”

เอกลักษณ์

“เศรษฐกิจพอเพียงด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น”

คำขวัญของสถานศึกษา

“เป็นคนดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม”

ปรัชญา

“ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาคือแสงสว่างแห่งโลก”

กิจกรรมโรงเรียน
ข่าวประชาสัมพันธ์